วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2553

นวัตกรรมการเรียนการสอน

นวัตกรรมการเรียนการสอน

นวัตกรรมการเรียนการสอน

ในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ และเพื่อให้เกิดประสิทธิผลในบั้นปลายนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ครู อาจารย์ จะต้องพยายามค้นคว้าวิธีการใหม่ ๆ ที่ครู อาจารย์คิดค้นขึ้นในรูปแบบต่าง ๆ นั้น คือ นวัตกรรมทางการศึกษานั้นเอง

ความหมาย

คำจำกัดความของคำว่า นวัตกรรมทางการศึกษา จึงหมายถึงสิ่งประดิษฐ์หรือวิธีการใหม่ ๆ หรือปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสม โดยมีการทดลองหรือพัฒนาจนเป็นที่น่าเชื่อถือได้ว่าจะมีผลดีในทางปฏิบัติสามารถนำไปใช้ในระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ และถ้าส่งผลงานในลักษณะนี้ต้องมีเอกสารประกอบด้วย

ความสำคัญ

ความสำคัญของนวัตกรรมทางการศึกษา ก็คือ สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในวงการศึกษาสรุปได้ ดังนี้

1. เพื่อนำนวัตกรรมมาใช้แก้ปัญหาในเรื่องการเรียนการสอน เช่น

1.1 ปัญหาเรื่องวิธีการสอน ปัญหาที่มักพบอยู่เสมอ คือ ครูส่วนใหญ่ยังคง

ยึดรูปแบบการสอนแบบบรรยาย โดยมีครูเป็นศูนย์กลางมากกว่าการสอนในรูปแบบอื่น การสอนด้วยวิธีการแบบนี้เป็นการสอนที่ขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในบั้นปลาย เพราะนอกจากจะทำให้นักเรียนเกิดความเบื่อหน่าย ขาดความสนใจแล้ว ยังเป็นการปิดกั้นความคิด และสติปัญญาของผู้เรียนให้อยู่ในขอบเขตจำกัดอีกด้วย

1.2 ปัญหาด้านเนื้อหาวิชา บางวิชาเนื้อหามาก และบางวิชามีเนื้อหาเป็น

นามธรรมยากแก่การเข้าใจ จึงจำเป็นจะต้องนำเทคนิคการสอนและสื่อมาช่วย

1.3 ปัญหาเรื่องอุปกรณ์การสอน บางเนื้อหามีสื่อการสอนเป็นจำนวนน้อย

ไม่เพียงพอต่อการนำไปใช้ เพื่อทำให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาได้ง่ายขึ้นจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาคิดค้นหาเทคนิควิธีการสอน และผลิตสื่อการสอนใหม่ เพื่อนำมาใช้ทำให้การเรียนการสอนบรรลุเป้าหมายได้

2. เพื่อนำนวัตกรรมไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา โดยการนำสิ่งประดิษฐ์หรือแนวความคิดใหม่ ๆ ในการเรียนการสอนนั้นเผยแพร่ไปสู่ครูอาจารย์ท่านอื่น ๆ หรือเพื่อเป็นตัวอย่างอีกรูปแบบหนึ่งให้กับครูอาจารย์ที่สอนในวิชาเดียวกัน ได้นำแนวความคิดไปปรับปรุงใช้หรือผลิตสื่อการสอนใหม่ ๆ เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป

ประเภทของนวัตกรรมการเรียนการสอนประเภทของนวัตกรรมการเรียนการสอน

สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2535 : 44 – 45) ได้กล่าวถึงการจำแนกประเภทของนวัตกรรมการเรียนการสอนว่า อาจจำแนกได้หลายประเภท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการจำแนกประเภท ได้แก่

1. จำแนกตามผู้ใช้ประโยชน์โดยตรง แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ นวัตกรรมการเรียน

การสอนสำหรับครู และสำหรับนักเรียน

2. จำแนกตามลักษณะของนวัตกรรม แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ นวัตกรรมการเรียน

การสอนประเภทเทคนิควิธีสอน และประเภทสื่อ

3. จำแนกตามจุดเน้นของนวัตกรรม แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ นวัตกรรมการเรียน

การสอนที่เน้นผลผลิต เน้นเทคนิคกระบวนการ และเน้นทั้งผลผลิตและเทคนิคกระบวนการ

สงบ ลักษณะ (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. 2533 ข : 11 ;

อ้างอิงมาจาก สงบ ลักษณะ. 2532 : 110) ได้จำแนกนวัตกรรมออกเป็น 3 ประเภท คือ

1. นวัตกรรมที่เน้นผลผลิต (Innovative Product) เป็นนวัตกรรมที่จัดทำขึ้นเป็นวัสดุ

เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ เช่น ชุดการสอน วีดิทัศน์ สไลด์ เป็นต้น

2. นวัตกรรมที่เน้นวิธีการ หรือเทคนิคกระบวนการ (Innovative Process) เป็น

นวัตกรรมที่เสนอเป็นเทคนิควิธีปฏิบัติ เช่น วิธีนิเทศ วิธีบริหาร วิธีสอน ฯลฯ

3. นวัตกรรมที่เน้นทั้งผลผลิต วิธีการหรือเทคนิคกระบวนการ

อย่างไรก็ตาม วิธีการจำแนกประเภทของนวัตกรรมการเรียนการสอน ที่เข้าใจ

ได้ง่าย สะดวกต่อการคิดค้น พัฒนา หรือสร้างนวัตกรรม ได้แก่ การจำแนกตามลักษณะของนวัตกรรมซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1. ประเภทเทคนิควิธีการ หรือกิจกรรม เช่น บทบาทสมมติ การสอนเป็นคณะ การสอนแบบศูนย์การเรียน การเรียนเพื่อความรอบรู้ การสอนโดยใช้พี่เลี้ยง การเรียนตามความสามารถ การศึกษาเด็กเป็นรายบุคคล รูปแบบการฝึกทักษะการทำงานกลุ่ม การสอนความคิดรวบยอดด้วยวิธีอุปมาอุปมัย ฯลฯ

2. ประเภทสื่อการเรียนการสอน เช่น บทเรียนสำเร็จรูป ชุดการสอน ชุดสื่อประสม

วิดิทัศน์ สไลด์ประกอบเสียง แผ่นโปร่งใส เกม เพลง ใบงาน บทเรียนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน

แม้ว่าการแบ่งประเภทของนวัตกรรมการเรียนการสอนออกเป็น ประเภทเทคนิคการเรียนการสอนและสื่อการเรียนการสอนดังกล่าว จะเข้าใจง่ายและมีความสะดวกในการคิดค้นนวัตกรรม แต่ในทางปฏิบัติแล้วไม่ว่าครูจะสร้างนวัตกรรมการเรียนการสอนประเภทเทคนิควิธีหรือนวัตกรรมการเรียนการสอนประเภทสื่อการเรียนการสอนก็ตาม ในขั้นตอนการผลิตและการใช้ในห้องเรียนนั้น ส่วนใหญ่จำเป็นต้องผลิตและใช้ร่วมกันทั้งสองประเภท เพราะนวัตกรรมการเรียนการสอนประเภทเทคนิควิธีการก็จำเป็นต้องมีสื่อการเรียนการสอนประกอบ ในขณะเดียวกันนวัตกรรมการเรียนการสอนประเภทสื่อการเรียนการสอนก็ต้องนำมาใช้ประกอบเทคนิควิธีสอนเช่นกัน

สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2535 : 44 – 45) ได้กล่าวถึงการจำแนกประเภทของนวัตกรรมการเรียนการสอนว่า อาจจำแนกได้หลายประเภท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการจำแนกประเภท ได้แก่

2. จำแนกตามผู้ใช้ประโยชน์โดยตรง แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ นวัตกรรมการเรียน

การสอนสำหรับครู และสำหรับนักเรียน

3. จำแนกตามลักษณะของนวัตกรรม แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ นวัตกรรมการเรียน

การสอนประเภทเทคนิควิธีสอน และประเภทสื่อ

4. จำแนกตามจุดเน้นของนวัตกรรม แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ นวัตกรรมการเรียน

การสอนที่เน้นผลผลิต เน้นเทคนิคกระบวนการ และเน้นทั้งผลผลิตและเทคนิคกระบวนการ

สงบ ลักษณะ (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. 2533 ข : 11 ;

อ้างอิงมาจาก สงบ ลักษณะ. 2532 : 110) ได้จำแนกนวัตกรรมออกเป็น 3 ประเภท คือ

2. นวัตกรรมที่เน้นผลผลิต (Innovative Product) เป็นนวัตกรรมที่จัดทำขึ้นเป็นวัสดุ

เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ เช่น ชุดการสอน วีดิทัศน์ สไลด์ เป็นต้น

3. นวัตกรรมที่เน้นวิธีการ หรือเทคนิคกระบวนการ (Innovative Process) เป็น

นวัตกรรมที่เสนอเป็นเทคนิควิธีปฏิบัติ เช่น วิธีนิเทศ วิธีบริหาร วิธีสอน ฯลฯ

4. นวัตกรรมที่เน้นทั้งผลผลิต วิธีการหรือเทคนิคกระบวนการ

อย่างไรก็ตาม วิธีการจำแนกประเภทของนวัตกรรมการเรียนการสอน ที่เข้าใจ

ได้ง่าย สะดวกต่อการคิดค้น พัฒนา หรือสร้างนวัตกรรม ได้แก่ การจำแนกตามลักษณะของนวัตกรรมซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1. ประเภทเทคนิควิธีการ หรือกิจกรรม เช่น บทบาทสมมติ การสอนเป็นคณะ การสอนแบบศูนย์การเรียน การเรียนเพื่อความรอบรู้ การสอนโดยใช้พี่เลี้ยง การเรียนตามความสามารถ การศึกษาเด็กเป็นรายบุคคล รูปแบบการฝึกทักษะการทำงานกลุ่ม การสอนความคิดรวบยอดด้วยวิธีอุปมาอุปมัย ฯลฯ

3. ประเภทสื่อการเรียนการสอน เช่น บทเรียนสำเร็จรูป ชุดการสอน ชุดสื่อประสม

วิดิทัศน์ สไลด์ประกอบเสียง แผ่นโปร่งใส เกม เพลง ใบงาน บทเรียนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน

แม้ว่าการแบ่งประเภทของนวัตกรรมการเรียนการสอนออกเป็น ประเภทเทคนิคการเรียนการสอนและสื่อการเรียนการสอนดังกล่าว จะเข้าใจง่ายและมีความสะดวกในการคิดค้นนวัตกรรม แต่ในทางปฏิบัติแล้วไม่ว่าครูจะสร้างนวัตกรรมการเรียนการสอนประเภทเทคนิควิธีหรือนวัตกรรมการเรียนการสอนประเภทสื่อการเรียนการสอนก็ตาม ในขั้นตอนการผลิตและการใช้ในห้องเรียนนั้น ส่วนใหญ่จำเป็นต้องผลิตและใช้ร่วมกันทั้งสองประเภท เพราะนวัตกรรมการเรียนการสอนประเภทเทคนิควิธีการก็จำเป็นต้องมีสื่อการเรียนการสอนประกอบ ในขณะเดียวกันนวัตกรรมการเรียนการสอนประเภทสื่อการเรียนการสอนก็ต้องนำมาใช้ประกอบเทคนิควิธีสอนเช่นกัน

ประโยชน์ของการเรียนการสอน

1. เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน

2. สนับสนุนการเรียนการสอน

3. เกิดเครือข่ายความรู้

4. เน้นการเรียนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ตรงตามหัวใจของการปฏิรูปการศึกษา

ลดช่องว่างการเรียนรู้ระหว่างเมืองและท้องถิ่น

หลักสำคัญในการพิจารณาว่าเป็นนวัตกรรม

จากความหมายของคำว่านวัตกรรมจะเห็นว่านักการศึกษาแต่ละท่านได้ให้ความหมายไว้แตกต่างกันแต่พอจะมีเกณฑ์ให้เราพิจารณาได้ว่าสิ่งใดเป็นนวัตกรรมหรือไม่ โดย ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ได้ให้เกณฑ์ในการพิจารณาสิ่งที่จะถือว่าเป็น นวัตกรรมไว้ดังนี้

1. จะต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วน

2. มีการนำวิธีการจัดระบบมาใช้ โดยพิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วนข้อมูลที่ใส่เข้าไป กระบวนการ และผลลัพธ์ ให้เหมาะสมก่อนที่จะทำการเปลี่ยนแปลง

3. มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัย หรืออยู่ระหว่างการวิจัยว้า จะช่วยให้การดำเนินงานบางอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น

4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน หากกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้ ไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรม

หลักสำคัญในการนำนวัตกรรมเข้ามาใช้

การที่จะรับนวัตกรรมเข้ามาใช้ในสถานที่ใดสถานที่หนึ่งนั้น จำเป็นที่จะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบถึงประโยชน์ที่จะได้รับ ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ตลอดจนความคุ้มค่าของการนำมาใช้โดยคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1. นวัตกรรมที่จะนำมาใช้นั้นมีจุดเด่นที่เห็นได้ชัดกว่าวัสดุ อุปกรณ์ หรือวิธีการที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมากน้อยเพียงใด

2. นวัตกรรมนั้นมีความเหมาะสมหรือไม่กับระบบหรือสภาพที่เป็นอยู่

3. มีการวิจัยหรือกรณีศึกษาที่ยืนยันแน่นอนแล้วว่า สามารถนำมาใช้ได้ดีในสภาวการณ์ที่คล้ายคลึงกันนี้

4. นวัตกรรมนั้นมีความเกี่ยวข้องกับความต้องการของผู้ใช้อย่างจริงจัง

การประยุกต์ใช้นวัตกรรมในการเรียนการสอน

1. ขั้นเตรียมการและวางแผนในการจัดทำผลงาน จะต้องมีการ

1.1 กำหนดรูปแบบของผลงาน

1.2 กำหนดเป้าหมายและขอบข่ายของเนื้อหาวิชา

1.3 กำหนดเป้าหมายและขอบข่ายของเนื้อหาวิชา

2. ขั้นตอนการจัดทำผลงาน

2.1 นำหลักสูตร เนื้อหา และจุดประสงค์การเรียนรู้ในวิชานั้นเป็นหลักในการจัด

2.2 กำหนดโครงสร้างของผลงาน (ใช้ในภาคเรียนใดและแต่ละเรื่องจะจัดทำสื่อเป็นจำนวนเท่าใดบ้าง)

3. ขั้นทดลองนำผลงานไปใช้ เช่น

3.1 ทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง

3.2 ควรมีการวิจัยสื่อที่จะนำไปทดลองใช้ เพื่อวัดประสิทธิภาพของสื่อที่ผลิตขึ้นว่าสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียน ในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนการสอนเพียงใด

3.3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนั้น ควรจัดทำให้สามารถวัดผลได้อย่างชัดเจน

4. ขั้นนำผลงานไปใช้

- ควรอธิบายกรรมวิธีในการนำไปใช้ได้อย่างละเอียดและเป็นขั้นตอน

5. ผลของการนำไปใช้

- อธิบายให้เห็นว่าสิ่งประดิษฐ์นั้น สามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาหรือนำไปเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนได้อย่างไรบ้าง

6. ขั้นการเผยแพร่และสร้างการยอมรับ

- เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่าสื่อนวัตกรรมที่ประดิษฐ์ขึ้นนั้น มีประโยชน์อย่างแท้จริงต่อการเรียนการสอน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการเผยแพร่ เพื่อให้เกิดการยอมรับในวงการศึกษา

ขั้นตอนนี้ ควรอธิบายโดยละเอียดว่า ได้มีการเผยแพร่ที่ใด หรือใน

ลักษณะใดบ้าง โดยอาจแบ่งประเภทให้เห็นชัดเจนว่า

- การเผยแพร่ในโรงเรียน

- การเผยแพร่แก่สาธารณะในวงการศึกษา

รูปแบบนวัตกรรม

นวัตกรรมสามารถจัดทำได้หลายรูปแบบ เช่น

- แผนการสอน

- ชุดการสอน

- คู่มือครู

- บทเรียนสำเร็จรูป

- สไลด์

- ใบความรู้ ทุกรูปแบบต้องมีคู่มือในการใช้สื่อด้วย

- สิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ

- เกม

- ฯลฯ

คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอน

การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย

วัตถุประสงค์

1. เพื่อเป็นสื่อช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้บทเรียนต่างๆ ที่ผู้เรียนจะศึกษา ผ่านกระบวนการ

หรือเครือข่าย ระบบทางคอมพิวเตอร์

2. ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษไปพร้อมกับการเรียนรู้สื่อต่างๆ ทางคอมพิวเตอร์

3. ช่วยดึงดูดให้นักเรียนสนใจในบทเรียนมากขึ้น

ลักษณะนวัตกรรม

บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียภาษาอังกฤษ ใช้โปรแกรม Wiser Educator มีลักษณะเป็นแบบฝึกหัด ที่มีกลไกส่วนใหญ่เป็นการฝึกทักษะการรับรู้ทางภาษา แบบฝึกสามารถทำได้เพียงการเลือกตอบผิด-ถูก การจับคู่ และเติมข้อความสั้น ๆ ซึ่งกิจกรรมฝึกหัดเช่นนี้ ต่างไปจากการอ่าน-เขียนภาษาอังกฤษเชิงวิชาการที่เน้นการอ่านแต่ประเด็นหลัก จดโน้ต และสรุป

ประโยชน์ของการนำไปใช้

1.ทำให้นักเรียนได้ฝึกทักษะการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้

2.ทำให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ

การพัฒนาชุดการสอนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียตามแนวความคิดการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้นักศึกษาที่เรียนโดยชุดการสอนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเพื่อสร้างสมรรถภาพการวิจัย

2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนด้วยตัวเอง โดยใช้แนวการเรียนรู้ในรูปแบบบทเรียนสำเร็จรูปโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อหลัก

ลักษณะนวัตกรรม

มัลติมีเดียหรือสื่อประสมเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดข่าวสารเนื้อหาความรู้โดยใช้สื่อหลายๆชนิด ที่เป็นสื่อดั่งเดิมมาผสมผสานกันเป็นชุดการเรียนหรือบทเรียนโปรแกรมที่ใช้ทั้งเอกสารสิ่งพิมพ์,ภาพสไลด์,เสียงจากเทป,ภาพถ่ายของจริงและวีดีทัศน์ทั้งแต่สองชนิดมาเป็นสื่อถ่ายทอดเนื้อหาไปยังผู้เรียน ตามหลักการเทคโนโลยีทางการศึกษาเพื่อมุ่งหวังให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตนเอง ตามศักยภาพของตนเองได้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

ประโยชน์ของการนำไปใช้

1. สามารถทำให้ผู้เรียนศึกษาได้เป็นรายบุคคล ตามลักษณะการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษาในรูปแผ่นซีดี

2. ทำให้นักศึกษาครูมีสมรรถภาพทางการวิจัยตามเป้าหมายของรายวิชาและหลักสูตรของสถาบัน

3. ครูประจำการทั่วไป และนักศึกษาทั่วไปสามารถนำไปศึกษา และนำไปใช้ในการทำวิจัยในชั้นเรียนได้อย่างสะดวก ประหยัด ทุกคนทุกที่ ทุกเวลา

การใช้สื่อวีดีทัศน์เพื่อฝึกทักษะการพูดของเด็กพิการทางโสต

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้เด็กหูตึงมีระดับการได้ยินระหว่าง 25 90 เดซิเบล ได้ฝึกทักษะกรพูดโดยใช้วีดีทัศน์

2. เพื่อเพิ่มความสนใจในการเรียนของเด็กหูตึงในระดับอนุบาล

3. เพื่อเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศให้ห้องเรียนน่าเรียนยิ่งขึ้น

ลักษณะของนวัตกรรม

เป็นนวัตกรรมที่ครูผู้สอนสามารถพัฒนาขึ้นและนำไปใช้ในการฝึกทักษะการพูดสำหรับเด็กหูตึงที่มีระดับการได้ยินระหว่าง 25-90 เดซิเบล ของนักเรียนระดับอนุบาล และได้รับการเตรียมความพร้อมในด้านการเปล่งเสียงมาแล้ว โดยคำที่นำมาใช้ฝึกประกอบด้วย 1-2 พยางค์ วลีและประโยคสั้นๆที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน ซึ่งสื่อวีดีทัศน์ประกอบเครื่องช่วยฟังที่สร้างขึ้น ยังเป็นเครื่องช่วยผู้ปกครองในการฝึกพูดของเด็กขณะอยู่ที่บ้าน เพิ่มเติมจากที่ครูสอนในโรงเรียน และครูผู้สอนทำการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างคะแนนก่อนและหลังการฝึกทักษะการพูดโดยใช้สื่อวีดีทัศน์ ใช้ t –test

ประโยชน์ของการนำไปใช้

สื่อวีดีทัศน์ เป็นแถบบันทึกภาพ ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในการฝึกทักษะการพูดสำหรับเด็กหูตึง ที่เรียนในระดับอนุบาล ซึ่งสามารถดึงดูดความสนใจของเด็ก และทำให้มีทักษะการพูดเพิ่มขึ้น มีความสนใจติดตาม เรื่องราวและฝึกพูดได้จบขั้นตอนการฝึก

การใช้เกมคอมพิวเตอร์ในการสอน

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้นักเรียนมีความสามารถในการใช้เกมคอมพิวเตอร์ ในการหาคำราชาศัพท์

2. เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์

ลักษณะนวัตกรรม

เป็นการใช้เกมคอมพิวเตอร์ในการซ่อมเสริมเรื่องคำราชาศัพท์ให้กับนักเรียนและให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดท้ายบทเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ในการเรียนซ่อมเสริมเรื่องคำราชาศัพท์

ประโยชน์ของการนำไปใช้

1. สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการหางานได้ทุกวิชา

2. ทำให้นักเรียนมีความชำนาญในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์

แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป อันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษา

แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป อันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญๆ พอจะสรุปได้ 4 ประการ คือ

  1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) การจัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเอาไว้อย่างชัดเจนซึ่งจะเห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติ ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้าง ใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์บ้าง นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น

- การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
- เครื่องสอน (Teaching Machine)
- การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
- เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)

2. ความพร้อม (Readiness) เดิมทีเดียวเชื่อกันว่า เด็กจะเริ่มเรียนได้ก็ต้องมีความพร้อมซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ชี้ให้เห็นว่าความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ ถ้าหากสามารถจัดบทเรียน ให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน วิชาที่เคยเชื่อกันว่ายาก และไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็กก็สามารถนำมาให้ศึกษาได้ นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่ ศูนย์การเรียน การจัดโรงเรียนในโรงเรียน นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น

- ศูนย์การเรียน (Learning Center)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
- การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)

3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา แต่เดิมมาการจัดเวลาเพื่อการสอน หรือตารางสอนมักจะจัด

โดยอาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์ เช่น ถือหน่วยเวลาเป็นชั่วโมง เท่ากันทุกวิชา ทุกวันนอกจากนั้นก็ยังจัดเวลาเรียนเอาไว้แน่นอนเป็นภาคเรียน เป็นปี ในปัจจุบันได้มีความคิดในการจัดเป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชาซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน บางวิชาอาจใช้ช่วงสั้นๆ แต่สอนบ่อยครั้ง การเรียนก็ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น

- การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)
- มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
- การเรียนทางไปรษณีย์

4. ระสิทธิภาพในการเรียน การขยายตัวทางวิชาการ และการเปลี่ยนแปลงของ

สังคม ทำให้มีสิ่งต่างๆ ที่คนจะต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นมาก แต่การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจึงจำเป็นต้องแสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้งในด้านปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียน และปัจจัยภายนอก นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น

- มหาวิทยาลัยเปิด
- การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์
- การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป
- ชุดการเรียน

ข้อเสนอแนะ แนวคิดนี้ได้รวบรวมถึงปัจจัยที่มีผลต่อการศึกษา ที่ได้รวบรวมมา 4 ประเด็น คือ เรื่องของความแตกต่างระหว่างบุคคล ความพร้อม การใช้เวลาเพื่อการศึกษา และประสิทธิภาพในการเรียน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เป็นสิ่งที่เราจะต้องคำนึงถึง เพื่อจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมและเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ให้ดียิ่งขึ้น

บทบาทของครูกับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

บทบาทของครูกับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

-----------------------------------------------------------------------------------------------

บทนำ

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานมุ่งพัฒนาผู้เรียนในลักษณะองค์รวม มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย จิตใจ ปัญญาและสังคม ในทุกช่วงชั้นของการจัดการศึกษา ให้ผู้เรียนมีความสามารถในการพัฒนาตนเองตามเป้าหมาย และวิธีการที่วางไว้ตามศักยภาพของตนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เป็นกิจกรรมที่มุ่งส่งเสริมการพัฒนา ผู้เรียน ให้รู้จักตนเอง ค้นพบความสามารถ ความถนัดของตน เพื่อพัฒนาให้เต็มศักยภาพ เห็นคุณค่าในการประกอบสัมมาชีพ ให้เป็นผู้มีระเบียบวินัย ศีลธรรม จริยธรรม รู้จักบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบ การบำเพ็ญประโยชน์ให้ชุมชน สังคม ประเทศชาติ และดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข บนพื้นฐานความเป็นไทย กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนเข้าร่วมและปฏิบัติกิจกรรมที่เหมาะสมกับผู้อื่น ได้อย่างมีความสุข เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนเลือกเองตามความสามารถ ความสนใจและความถนัดอย่างแท้จริง ไม่ใช่เพียงแต่เป็นกิจกรรมที่ครูจัดขึ้นในการเรียนวิชาต่างๆ ซึ่งผู้เรียนจะต้องเรียนและสอบให้ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดเท่านั้น แต่ทว่ารวมไปถึงกิจกรรมที่ผู้เรียนช่วยกันคิด ช่วยกันทำและช่วยกันแก้ปัญหา เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเองอย่างครบวงจร ตั้งแต่การศึกษาวิเคราะห์ วางแผน ปฏิบัติตามแผน ประเมิน และปรับปรุงการทำงาน โดยเน้นการทำงานเป็นกลุ่ม อันเป็นการปลูกฝังคุณลักษณะนิสัยที่ดีในการอยู่ร่วมกันในสังคม แต่เท่าที่ดำเนิน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียนที่ผ่านมา ครูไม่ได้ให้ความสำคัญและเอาใจใส่ในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมชุมนุม กลุ่มสาระการเรียนรู้ กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม หรือกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ส่วนใหญ่โรงเรียนจัดเพื่อให้ผ่านไปปีหนึ่งๆ เท่านั้น แท้ที่จริงเป็นหน้าที่อัน สำคัญของครูที่จะต้องดำเนินการ ใช่แต่ทำหน้าที่สอนเฉพาะรายวิชา 8 กลุ่มสาระเท่านั้น ครูบางคนยังมีความเข้าใจว่ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนไม่มีผลต่อ การเรียนรู้ของนักเรียนแต่อย่างใด ไม่มีการวัดผลประเมินผล เพราะหลักสูตรกำหนดไว้ให้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดเท่านั้น ครูบางคนจึง ปล่อยให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรม เพียงลำพังไม่สนใจว่าผลจะออกมาอย่างไร ความเป็นจริงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดให้ผู้เรียนทุกคนเข้าร่วม กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และผ่านเกณฑ์ที่สถาน ศึกษากำหนดก็เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ศักยภาพ ความสามารถด้านต่างๆ ที่ผู้เรียนมีอยู่ให้มากที่สุด ซึ่งมีผลให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองไปตามความสามารถ ความสนใจ และความถนัดของตนตามศักยภาพ ดังนั้น ครูต้องเอาใจใส่ในการจัดกิจกรรมที่นักเรียนได้ปฏิบัติ ฝึกฝน ใช้ความสามารถของตนเองตามศักยภาพ มีความสอดคล้องกับธรรมชาติและความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยผ่านกระบวนการคิด วิเคราะห์ วางแผน ปฏิบัติตามแผน ประเมินและปรับปรุงงาน ดังนั้น ภารกิจ หลักของโรงเรียน คือ วางแผนจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้สนองต่อความต้องการของผู้เรียน ชุมชนและท้องถิ่

การดำเนินการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

โรงเรียนสามารถดำเนินการได้ดังนี้

  1. ประชุมชี้แจงครู ผู้ปกครอง ผู้เรียน เพื่อสร้างความเข้าใจในการปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  2. พิจารณาวิสัยทัศน์ของโรงเรียน
  3. สำรวจข้อมูล ความพร้อมของโรงเรียน ชุมชน ท้องถิ่น สภาพปัญหาและความต้องการของผู้เรียน
  4. วางแผนร่วมกันจัดทำแผนงาน/ โครงการ
  5. ปฏิบัติตามแผนงาน/ โครงการ
  6. นิเทศ ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงาน
  7. สรุป/ รายงานผลการปฏิบัติงาน

เมื่อโรงเรียนได้ดำเนินการวางแผนงาน / โครงการในการดำเนินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนแล้ว โรงเรียนจะต้องดำเนินการในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยจัดให้ผู้เรียนทุกคนเข้าร่วมกิจกรรม โดยดำเนินการได้ดังนี้

  1. นักเรียนจัดตั้งกลุ่มตามความสนใจ ความถนัดและความต้องการ หรืออาจเข้าร่วมกิจกรรมตามข้อเสนอแนะของโรงเรียน
  2. รับการปฐมนิเทศจากครูที่ปรึกษากิจกรรม โดยให้นักเรียนเลือกครูที่ปรึกษากิจกรรม เพื่อรับฟังขอเสนอแนะในการเข้าร่วมและดำเนินกิจกรรม ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
  3. ประชุมเลือกตั้งคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ ประกอบด้วย ประธาน เลขานุการ เหรัญญิก นายทะเบียน และอื่นๆ ตามความเหมาะสม
  4. ประชุมวางแผนจัดทำแผนงา/ โครงการ และปฏิทินงาน เพื่อดำเนินกิจกรรมให้บรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ จำเป็นต้องมีการวางแผนใน การดำเนินงาน ที่ประชุมควรเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการวางแผน และจัดทำโครงการปฏิทินงานที่กำหนดวัน เวลา ไว้อย่างชัดเจน แล้วนำเสนอต่อครูที่ปรึกษากิจกรรม
  5. ปฏิบัติกิจกรรมตามแผนงาน โครงการและปฏิทินที่กำหนดไว้ เมื่อแผนงาน โครงการและปฏิทินงานได้รับอนุมัติจากผู้บริหารโรงเรียนแล้ว ผู้เรียนจึงจะสามารถปฏิบัติกิจกรรมตามแผนงาน โครงการ และปฏิทิน ที่กำหนดไว้ในรูปแบบของคณะกรรมการที่ได้รับการเลือกตั้งโดยกระบวนการกลุ่ม เพื่อให้ผู้เรียนทุกคนได้พัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพ
  6. ประเมินผลการปฏิบัติกิจกรรม การประเมินผลจะต้องประเมินผลเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง ทั้งประเมินตนเอง เพื่อนร่วมงาน คุณภาพงาน ถ้าไม่เกิด คุณลักษณะตามวัตถุประสงค์ต้องปฏิบัติตามกิจกรรมเพิ่มเติมตามที่ครูที่ปรึกษา มอบหมายหรือความเห็นชอบตามผู้เรียนเสนอ
  7. สรุปผลการปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เมื่อปฏิบัติกิจกรรมเสร็จสิ้นโครงการแล้ว คณะกรรมการดำเนินกิจกรรมจะต้องประชุม เพื่อสรุปผลการดำเนิน กิจกรรมเสนอต่อครูที่ปรึกษากิจกรรม

บทบาทของครูที่ปรึกษากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

ครูต้องเป็นที่ปรึกษากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามคำร้องขอของผู้เรียน หรือตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้บริหารโรงเรียนให้เป็นครูที่ปรึกษา โดยมีบทบาทดังนี้

  1. ปฐมนิเทศ ให้ผู้เรียนเข้าใจเป้าหมายและวิธีการดำเนินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
  2. เลือกตั้งคณะกรรมการ จัดให้ผู้เรียนเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
  3. ส่งเสริมการจัดทำแผนงาน / โครงการ ส่งเสริมให้ผู้เรียนที่เป็นสมาชิกของกิจกรรมร่วมแสดงความคิดเห็นในการจัดทำแผนงาน/ โครงการ และปฏิทิน การปฏิบัติงานอย่างอิสระ
  4. ประสานงาน ประสานงานและอำนวยความสะดวกในด้านทรัพยากรตามความเหมาะสม
  5. ให้คำปรึกษา ดูแลให้คำปรึกษา ติดตามการจัดกิจกรรมของผู้เรียนให้เป็นไปตามแผนงาน
  6. ประเมินผล ประเมินผลการเข้าร่วมและปฏิบัติกิจกรรมของผู้เรียน ดูแลและพัฒนาผู้เรียนให้เกิดคุณลักษณะตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรม พร้อมสนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียนดำเนินกิจกรรมให้บรรลุวัตถุประสงค์
  7. สรุปผลและรายงาน สรุปผล และรายงานต่อหัวหน้ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน หรือผู้บริหารโรงเรียน

การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

การประเมินผลการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเป็นเงื่อนไขสำคัญประการหนึ่ง สำหรับการผ่านช่วงชั้นตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่กำหนดให้ผู้เรียนต้องเข้า ร่วมและปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตลอดจนผ่านการประเมินตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด โดยครูที่ปรึกษากิจกรรม ผู้เรียน และผู้ปกครอง มีส่วนร่วมตามแนว ประเมิน ดังนี้

  1. ประเมินการปฏิบัติกิจกรรมของผู้เรียนตามวัตถุประสงค์ของแต่ละกิจกรรม โดยประเมินจากพฤติกรรม การปฏิบัติกิจกรรม และผลการปฏิบัติกิจกรรม ด้วยวิธีการที่หลากหลาย
  2. ตรวจสอบเวลาเข้าร่วมกิจกรรมของผู้เรียน ที่ต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด
  3. ใน กรณีที่กิจกรรมใดที่ต้องใช้เวลาปฏิบัติตลอดปี เมื่อสิ้นภาคเรียนแรก ผู้รับผิดชอบกิจกรรมต้องจัดให้การประเมินการปฏิบัติกิจกรรมของผู้เรียนเพื่อ สรุป ความก้าวหน้า และสภาพของการปฏิบัติกิจกรรมของผู้เรียนระยะหนึ่งก่อน เพื่อปรับปรุง แก้ไข หรือส่งเสริมการปฏิบัติกิจกรรมของผู้เรียน ให้เป็นไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ และรายงานผลการประเมินให้ผู้ปกครองทราบ โดยทำการประเมินตามจุดประสงค์สำคัญของกิจกรรม และนำผลการประเมินในภาคเรียนที่หนึ่งไปรวมกับผลการประเมินในภาคเรียนที่สอง เพื่อตัดสินผลการประเมินการผ่านจุดประสงค์ของกิจกรรม เมื่อสิ้นสุดปีการศึกษา
  4. ตัดสินให้ผู้เรียนที่ผ่านจุดประสงค์สำคัญของกิจกรรมและเวลาเข้าร่วมกิจกรรม ครบตามเกณฑ์ให้เป็นผู้ผ่านการประเมิน ผู้เรียนที่มีผลการประเมินบกพร่อง ในเกณฑ์ใดเกณฑ์หนึ่งหรือทั้งสองเกณฑ์ จะเป็นผู้ไม่ผ่านการประเมินผลการร่วมกิจกรรม จะต้องซ่อมเสริมข้อบกพร่องให้ผ่านเกณฑ์ก่อนจึงจะได้รับ การตัดสิน ให้ผ่านกิจกรรมในภาพรวมการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนรายกิจกรรม เป็นการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง แฟ้มสะสมผลงานการ จัดกิจกรรมพัฒนา ผู้เรียนจึงเป็นแนวทางหนึ่งในการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนได้ โดยอาจกำหนดรูปแบบการสะสมผลงานได้ตามความเหมาะสม

สรุป

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเป็นกิจกรรมที่พัฒนาความสามารถ ความถนัดของผู้เรียน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ความคิดวิเคราะห์ การวางแผนจัดการ ทั้งให้ผู้เรียนเป็นคนดี มีคุณธรรม ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขบนพื้นฐานความเป็นไทย โรงเรียนจะต้องจัดกิจกรรมพัฒนา ผู้เรียนอย่างหลากหลาย เหมาะสมกับความรู้ ความถนัด และความสนใจของผู้เรียน ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม ครูที่ปรึกษาควรดูแล ศึกษา ติดตาม ผู้เรียนกรณีที่ไม่เข้าร่วมกิจกรรม มีการประเมินกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรม มีการบันทึกเป็นหลักฐานและประเมินผลด้วยวิธีการที่หลากหลายตามสภาพจริง