วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2553

นวัตกรรมการเรียนการสอน

นวัตกรรมการเรียนการสอน

นวัตกรรมการเรียนการสอน

ในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ และเพื่อให้เกิดประสิทธิผลในบั้นปลายนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ครู อาจารย์ จะต้องพยายามค้นคว้าวิธีการใหม่ ๆ ที่ครู อาจารย์คิดค้นขึ้นในรูปแบบต่าง ๆ นั้น คือ นวัตกรรมทางการศึกษานั้นเอง

ความหมาย

คำจำกัดความของคำว่า นวัตกรรมทางการศึกษา จึงหมายถึงสิ่งประดิษฐ์หรือวิธีการใหม่ ๆ หรือปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสม โดยมีการทดลองหรือพัฒนาจนเป็นที่น่าเชื่อถือได้ว่าจะมีผลดีในทางปฏิบัติสามารถนำไปใช้ในระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ และถ้าส่งผลงานในลักษณะนี้ต้องมีเอกสารประกอบด้วย

ความสำคัญ

ความสำคัญของนวัตกรรมทางการศึกษา ก็คือ สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในวงการศึกษาสรุปได้ ดังนี้

1. เพื่อนำนวัตกรรมมาใช้แก้ปัญหาในเรื่องการเรียนการสอน เช่น

1.1 ปัญหาเรื่องวิธีการสอน ปัญหาที่มักพบอยู่เสมอ คือ ครูส่วนใหญ่ยังคง

ยึดรูปแบบการสอนแบบบรรยาย โดยมีครูเป็นศูนย์กลางมากกว่าการสอนในรูปแบบอื่น การสอนด้วยวิธีการแบบนี้เป็นการสอนที่ขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในบั้นปลาย เพราะนอกจากจะทำให้นักเรียนเกิดความเบื่อหน่าย ขาดความสนใจแล้ว ยังเป็นการปิดกั้นความคิด และสติปัญญาของผู้เรียนให้อยู่ในขอบเขตจำกัดอีกด้วย

1.2 ปัญหาด้านเนื้อหาวิชา บางวิชาเนื้อหามาก และบางวิชามีเนื้อหาเป็น

นามธรรมยากแก่การเข้าใจ จึงจำเป็นจะต้องนำเทคนิคการสอนและสื่อมาช่วย

1.3 ปัญหาเรื่องอุปกรณ์การสอน บางเนื้อหามีสื่อการสอนเป็นจำนวนน้อย

ไม่เพียงพอต่อการนำไปใช้ เพื่อทำให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาได้ง่ายขึ้นจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาคิดค้นหาเทคนิควิธีการสอน และผลิตสื่อการสอนใหม่ เพื่อนำมาใช้ทำให้การเรียนการสอนบรรลุเป้าหมายได้

2. เพื่อนำนวัตกรรมไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา โดยการนำสิ่งประดิษฐ์หรือแนวความคิดใหม่ ๆ ในการเรียนการสอนนั้นเผยแพร่ไปสู่ครูอาจารย์ท่านอื่น ๆ หรือเพื่อเป็นตัวอย่างอีกรูปแบบหนึ่งให้กับครูอาจารย์ที่สอนในวิชาเดียวกัน ได้นำแนวความคิดไปปรับปรุงใช้หรือผลิตสื่อการสอนใหม่ ๆ เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป

ประเภทของนวัตกรรมการเรียนการสอนประเภทของนวัตกรรมการเรียนการสอน

สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2535 : 44 – 45) ได้กล่าวถึงการจำแนกประเภทของนวัตกรรมการเรียนการสอนว่า อาจจำแนกได้หลายประเภท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการจำแนกประเภท ได้แก่

1. จำแนกตามผู้ใช้ประโยชน์โดยตรง แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ นวัตกรรมการเรียน

การสอนสำหรับครู และสำหรับนักเรียน

2. จำแนกตามลักษณะของนวัตกรรม แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ นวัตกรรมการเรียน

การสอนประเภทเทคนิควิธีสอน และประเภทสื่อ

3. จำแนกตามจุดเน้นของนวัตกรรม แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ นวัตกรรมการเรียน

การสอนที่เน้นผลผลิต เน้นเทคนิคกระบวนการ และเน้นทั้งผลผลิตและเทคนิคกระบวนการ

สงบ ลักษณะ (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. 2533 ข : 11 ;

อ้างอิงมาจาก สงบ ลักษณะ. 2532 : 110) ได้จำแนกนวัตกรรมออกเป็น 3 ประเภท คือ

1. นวัตกรรมที่เน้นผลผลิต (Innovative Product) เป็นนวัตกรรมที่จัดทำขึ้นเป็นวัสดุ

เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ เช่น ชุดการสอน วีดิทัศน์ สไลด์ เป็นต้น

2. นวัตกรรมที่เน้นวิธีการ หรือเทคนิคกระบวนการ (Innovative Process) เป็น

นวัตกรรมที่เสนอเป็นเทคนิควิธีปฏิบัติ เช่น วิธีนิเทศ วิธีบริหาร วิธีสอน ฯลฯ

3. นวัตกรรมที่เน้นทั้งผลผลิต วิธีการหรือเทคนิคกระบวนการ

อย่างไรก็ตาม วิธีการจำแนกประเภทของนวัตกรรมการเรียนการสอน ที่เข้าใจ

ได้ง่าย สะดวกต่อการคิดค้น พัฒนา หรือสร้างนวัตกรรม ได้แก่ การจำแนกตามลักษณะของนวัตกรรมซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1. ประเภทเทคนิควิธีการ หรือกิจกรรม เช่น บทบาทสมมติ การสอนเป็นคณะ การสอนแบบศูนย์การเรียน การเรียนเพื่อความรอบรู้ การสอนโดยใช้พี่เลี้ยง การเรียนตามความสามารถ การศึกษาเด็กเป็นรายบุคคล รูปแบบการฝึกทักษะการทำงานกลุ่ม การสอนความคิดรวบยอดด้วยวิธีอุปมาอุปมัย ฯลฯ

2. ประเภทสื่อการเรียนการสอน เช่น บทเรียนสำเร็จรูป ชุดการสอน ชุดสื่อประสม

วิดิทัศน์ สไลด์ประกอบเสียง แผ่นโปร่งใส เกม เพลง ใบงาน บทเรียนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน

แม้ว่าการแบ่งประเภทของนวัตกรรมการเรียนการสอนออกเป็น ประเภทเทคนิคการเรียนการสอนและสื่อการเรียนการสอนดังกล่าว จะเข้าใจง่ายและมีความสะดวกในการคิดค้นนวัตกรรม แต่ในทางปฏิบัติแล้วไม่ว่าครูจะสร้างนวัตกรรมการเรียนการสอนประเภทเทคนิควิธีหรือนวัตกรรมการเรียนการสอนประเภทสื่อการเรียนการสอนก็ตาม ในขั้นตอนการผลิตและการใช้ในห้องเรียนนั้น ส่วนใหญ่จำเป็นต้องผลิตและใช้ร่วมกันทั้งสองประเภท เพราะนวัตกรรมการเรียนการสอนประเภทเทคนิควิธีการก็จำเป็นต้องมีสื่อการเรียนการสอนประกอบ ในขณะเดียวกันนวัตกรรมการเรียนการสอนประเภทสื่อการเรียนการสอนก็ต้องนำมาใช้ประกอบเทคนิควิธีสอนเช่นกัน

สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2535 : 44 – 45) ได้กล่าวถึงการจำแนกประเภทของนวัตกรรมการเรียนการสอนว่า อาจจำแนกได้หลายประเภท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการจำแนกประเภท ได้แก่

2. จำแนกตามผู้ใช้ประโยชน์โดยตรง แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ นวัตกรรมการเรียน

การสอนสำหรับครู และสำหรับนักเรียน

3. จำแนกตามลักษณะของนวัตกรรม แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ นวัตกรรมการเรียน

การสอนประเภทเทคนิควิธีสอน และประเภทสื่อ

4. จำแนกตามจุดเน้นของนวัตกรรม แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ นวัตกรรมการเรียน

การสอนที่เน้นผลผลิต เน้นเทคนิคกระบวนการ และเน้นทั้งผลผลิตและเทคนิคกระบวนการ

สงบ ลักษณะ (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. 2533 ข : 11 ;

อ้างอิงมาจาก สงบ ลักษณะ. 2532 : 110) ได้จำแนกนวัตกรรมออกเป็น 3 ประเภท คือ

2. นวัตกรรมที่เน้นผลผลิต (Innovative Product) เป็นนวัตกรรมที่จัดทำขึ้นเป็นวัสดุ

เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ เช่น ชุดการสอน วีดิทัศน์ สไลด์ เป็นต้น

3. นวัตกรรมที่เน้นวิธีการ หรือเทคนิคกระบวนการ (Innovative Process) เป็น

นวัตกรรมที่เสนอเป็นเทคนิควิธีปฏิบัติ เช่น วิธีนิเทศ วิธีบริหาร วิธีสอน ฯลฯ

4. นวัตกรรมที่เน้นทั้งผลผลิต วิธีการหรือเทคนิคกระบวนการ

อย่างไรก็ตาม วิธีการจำแนกประเภทของนวัตกรรมการเรียนการสอน ที่เข้าใจ

ได้ง่าย สะดวกต่อการคิดค้น พัฒนา หรือสร้างนวัตกรรม ได้แก่ การจำแนกตามลักษณะของนวัตกรรมซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1. ประเภทเทคนิควิธีการ หรือกิจกรรม เช่น บทบาทสมมติ การสอนเป็นคณะ การสอนแบบศูนย์การเรียน การเรียนเพื่อความรอบรู้ การสอนโดยใช้พี่เลี้ยง การเรียนตามความสามารถ การศึกษาเด็กเป็นรายบุคคล รูปแบบการฝึกทักษะการทำงานกลุ่ม การสอนความคิดรวบยอดด้วยวิธีอุปมาอุปมัย ฯลฯ

3. ประเภทสื่อการเรียนการสอน เช่น บทเรียนสำเร็จรูป ชุดการสอน ชุดสื่อประสม

วิดิทัศน์ สไลด์ประกอบเสียง แผ่นโปร่งใส เกม เพลง ใบงาน บทเรียนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน

แม้ว่าการแบ่งประเภทของนวัตกรรมการเรียนการสอนออกเป็น ประเภทเทคนิคการเรียนการสอนและสื่อการเรียนการสอนดังกล่าว จะเข้าใจง่ายและมีความสะดวกในการคิดค้นนวัตกรรม แต่ในทางปฏิบัติแล้วไม่ว่าครูจะสร้างนวัตกรรมการเรียนการสอนประเภทเทคนิควิธีหรือนวัตกรรมการเรียนการสอนประเภทสื่อการเรียนการสอนก็ตาม ในขั้นตอนการผลิตและการใช้ในห้องเรียนนั้น ส่วนใหญ่จำเป็นต้องผลิตและใช้ร่วมกันทั้งสองประเภท เพราะนวัตกรรมการเรียนการสอนประเภทเทคนิควิธีการก็จำเป็นต้องมีสื่อการเรียนการสอนประกอบ ในขณะเดียวกันนวัตกรรมการเรียนการสอนประเภทสื่อการเรียนการสอนก็ต้องนำมาใช้ประกอบเทคนิควิธีสอนเช่นกัน

ประโยชน์ของการเรียนการสอน

1. เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน

2. สนับสนุนการเรียนการสอน

3. เกิดเครือข่ายความรู้

4. เน้นการเรียนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ตรงตามหัวใจของการปฏิรูปการศึกษา

ลดช่องว่างการเรียนรู้ระหว่างเมืองและท้องถิ่น

หลักสำคัญในการพิจารณาว่าเป็นนวัตกรรม

จากความหมายของคำว่านวัตกรรมจะเห็นว่านักการศึกษาแต่ละท่านได้ให้ความหมายไว้แตกต่างกันแต่พอจะมีเกณฑ์ให้เราพิจารณาได้ว่าสิ่งใดเป็นนวัตกรรมหรือไม่ โดย ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ได้ให้เกณฑ์ในการพิจารณาสิ่งที่จะถือว่าเป็น นวัตกรรมไว้ดังนี้

1. จะต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วน

2. มีการนำวิธีการจัดระบบมาใช้ โดยพิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วนข้อมูลที่ใส่เข้าไป กระบวนการ และผลลัพธ์ ให้เหมาะสมก่อนที่จะทำการเปลี่ยนแปลง

3. มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัย หรืออยู่ระหว่างการวิจัยว้า จะช่วยให้การดำเนินงานบางอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น

4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน หากกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้ ไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรม

หลักสำคัญในการนำนวัตกรรมเข้ามาใช้

การที่จะรับนวัตกรรมเข้ามาใช้ในสถานที่ใดสถานที่หนึ่งนั้น จำเป็นที่จะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบถึงประโยชน์ที่จะได้รับ ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ตลอดจนความคุ้มค่าของการนำมาใช้โดยคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1. นวัตกรรมที่จะนำมาใช้นั้นมีจุดเด่นที่เห็นได้ชัดกว่าวัสดุ อุปกรณ์ หรือวิธีการที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมากน้อยเพียงใด

2. นวัตกรรมนั้นมีความเหมาะสมหรือไม่กับระบบหรือสภาพที่เป็นอยู่

3. มีการวิจัยหรือกรณีศึกษาที่ยืนยันแน่นอนแล้วว่า สามารถนำมาใช้ได้ดีในสภาวการณ์ที่คล้ายคลึงกันนี้

4. นวัตกรรมนั้นมีความเกี่ยวข้องกับความต้องการของผู้ใช้อย่างจริงจัง

การประยุกต์ใช้นวัตกรรมในการเรียนการสอน

1. ขั้นเตรียมการและวางแผนในการจัดทำผลงาน จะต้องมีการ

1.1 กำหนดรูปแบบของผลงาน

1.2 กำหนดเป้าหมายและขอบข่ายของเนื้อหาวิชา

1.3 กำหนดเป้าหมายและขอบข่ายของเนื้อหาวิชา

2. ขั้นตอนการจัดทำผลงาน

2.1 นำหลักสูตร เนื้อหา และจุดประสงค์การเรียนรู้ในวิชานั้นเป็นหลักในการจัด

2.2 กำหนดโครงสร้างของผลงาน (ใช้ในภาคเรียนใดและแต่ละเรื่องจะจัดทำสื่อเป็นจำนวนเท่าใดบ้าง)

3. ขั้นทดลองนำผลงานไปใช้ เช่น

3.1 ทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง

3.2 ควรมีการวิจัยสื่อที่จะนำไปทดลองใช้ เพื่อวัดประสิทธิภาพของสื่อที่ผลิตขึ้นว่าสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียน ในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนการสอนเพียงใด

3.3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนั้น ควรจัดทำให้สามารถวัดผลได้อย่างชัดเจน

4. ขั้นนำผลงานไปใช้

- ควรอธิบายกรรมวิธีในการนำไปใช้ได้อย่างละเอียดและเป็นขั้นตอน

5. ผลของการนำไปใช้

- อธิบายให้เห็นว่าสิ่งประดิษฐ์นั้น สามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาหรือนำไปเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนได้อย่างไรบ้าง

6. ขั้นการเผยแพร่และสร้างการยอมรับ

- เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่าสื่อนวัตกรรมที่ประดิษฐ์ขึ้นนั้น มีประโยชน์อย่างแท้จริงต่อการเรียนการสอน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการเผยแพร่ เพื่อให้เกิดการยอมรับในวงการศึกษา

ขั้นตอนนี้ ควรอธิบายโดยละเอียดว่า ได้มีการเผยแพร่ที่ใด หรือใน

ลักษณะใดบ้าง โดยอาจแบ่งประเภทให้เห็นชัดเจนว่า

- การเผยแพร่ในโรงเรียน

- การเผยแพร่แก่สาธารณะในวงการศึกษา

รูปแบบนวัตกรรม

นวัตกรรมสามารถจัดทำได้หลายรูปแบบ เช่น

- แผนการสอน

- ชุดการสอน

- คู่มือครู

- บทเรียนสำเร็จรูป

- สไลด์

- ใบความรู้ ทุกรูปแบบต้องมีคู่มือในการใช้สื่อด้วย

- สิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ

- เกม

- ฯลฯ

คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอน

การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย

วัตถุประสงค์

1. เพื่อเป็นสื่อช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้บทเรียนต่างๆ ที่ผู้เรียนจะศึกษา ผ่านกระบวนการ

หรือเครือข่าย ระบบทางคอมพิวเตอร์

2. ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษไปพร้อมกับการเรียนรู้สื่อต่างๆ ทางคอมพิวเตอร์

3. ช่วยดึงดูดให้นักเรียนสนใจในบทเรียนมากขึ้น

ลักษณะนวัตกรรม

บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียภาษาอังกฤษ ใช้โปรแกรม Wiser Educator มีลักษณะเป็นแบบฝึกหัด ที่มีกลไกส่วนใหญ่เป็นการฝึกทักษะการรับรู้ทางภาษา แบบฝึกสามารถทำได้เพียงการเลือกตอบผิด-ถูก การจับคู่ และเติมข้อความสั้น ๆ ซึ่งกิจกรรมฝึกหัดเช่นนี้ ต่างไปจากการอ่าน-เขียนภาษาอังกฤษเชิงวิชาการที่เน้นการอ่านแต่ประเด็นหลัก จดโน้ต และสรุป

ประโยชน์ของการนำไปใช้

1.ทำให้นักเรียนได้ฝึกทักษะการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้

2.ทำให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ

การพัฒนาชุดการสอนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียตามแนวความคิดการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้นักศึกษาที่เรียนโดยชุดการสอนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเพื่อสร้างสมรรถภาพการวิจัย

2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนด้วยตัวเอง โดยใช้แนวการเรียนรู้ในรูปแบบบทเรียนสำเร็จรูปโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อหลัก

ลักษณะนวัตกรรม

มัลติมีเดียหรือสื่อประสมเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดข่าวสารเนื้อหาความรู้โดยใช้สื่อหลายๆชนิด ที่เป็นสื่อดั่งเดิมมาผสมผสานกันเป็นชุดการเรียนหรือบทเรียนโปรแกรมที่ใช้ทั้งเอกสารสิ่งพิมพ์,ภาพสไลด์,เสียงจากเทป,ภาพถ่ายของจริงและวีดีทัศน์ทั้งแต่สองชนิดมาเป็นสื่อถ่ายทอดเนื้อหาไปยังผู้เรียน ตามหลักการเทคโนโลยีทางการศึกษาเพื่อมุ่งหวังให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตนเอง ตามศักยภาพของตนเองได้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

ประโยชน์ของการนำไปใช้

1. สามารถทำให้ผู้เรียนศึกษาได้เป็นรายบุคคล ตามลักษณะการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษาในรูปแผ่นซีดี

2. ทำให้นักศึกษาครูมีสมรรถภาพทางการวิจัยตามเป้าหมายของรายวิชาและหลักสูตรของสถาบัน

3. ครูประจำการทั่วไป และนักศึกษาทั่วไปสามารถนำไปศึกษา และนำไปใช้ในการทำวิจัยในชั้นเรียนได้อย่างสะดวก ประหยัด ทุกคนทุกที่ ทุกเวลา

การใช้สื่อวีดีทัศน์เพื่อฝึกทักษะการพูดของเด็กพิการทางโสต

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้เด็กหูตึงมีระดับการได้ยินระหว่าง 25 90 เดซิเบล ได้ฝึกทักษะกรพูดโดยใช้วีดีทัศน์

2. เพื่อเพิ่มความสนใจในการเรียนของเด็กหูตึงในระดับอนุบาล

3. เพื่อเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศให้ห้องเรียนน่าเรียนยิ่งขึ้น

ลักษณะของนวัตกรรม

เป็นนวัตกรรมที่ครูผู้สอนสามารถพัฒนาขึ้นและนำไปใช้ในการฝึกทักษะการพูดสำหรับเด็กหูตึงที่มีระดับการได้ยินระหว่าง 25-90 เดซิเบล ของนักเรียนระดับอนุบาล และได้รับการเตรียมความพร้อมในด้านการเปล่งเสียงมาแล้ว โดยคำที่นำมาใช้ฝึกประกอบด้วย 1-2 พยางค์ วลีและประโยคสั้นๆที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน ซึ่งสื่อวีดีทัศน์ประกอบเครื่องช่วยฟังที่สร้างขึ้น ยังเป็นเครื่องช่วยผู้ปกครองในการฝึกพูดของเด็กขณะอยู่ที่บ้าน เพิ่มเติมจากที่ครูสอนในโรงเรียน และครูผู้สอนทำการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างคะแนนก่อนและหลังการฝึกทักษะการพูดโดยใช้สื่อวีดีทัศน์ ใช้ t –test

ประโยชน์ของการนำไปใช้

สื่อวีดีทัศน์ เป็นแถบบันทึกภาพ ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในการฝึกทักษะการพูดสำหรับเด็กหูตึง ที่เรียนในระดับอนุบาล ซึ่งสามารถดึงดูดความสนใจของเด็ก และทำให้มีทักษะการพูดเพิ่มขึ้น มีความสนใจติดตาม เรื่องราวและฝึกพูดได้จบขั้นตอนการฝึก

การใช้เกมคอมพิวเตอร์ในการสอน

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้นักเรียนมีความสามารถในการใช้เกมคอมพิวเตอร์ ในการหาคำราชาศัพท์

2. เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์

ลักษณะนวัตกรรม

เป็นการใช้เกมคอมพิวเตอร์ในการซ่อมเสริมเรื่องคำราชาศัพท์ให้กับนักเรียนและให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดท้ายบทเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ในการเรียนซ่อมเสริมเรื่องคำราชาศัพท์

ประโยชน์ของการนำไปใช้

1. สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการหางานได้ทุกวิชา

2. ทำให้นักเรียนมีความชำนาญในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น